วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิยามศัพท์เฉพาะของหลักสูตร

นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
การศึกษา (Education) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของ บุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัด สภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต

หลักสูตร (Curriculum) หมายถึง การประมวลความรู้และประสบการณ์ที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ หลักสูตรจึงเป็นเสมือนแผนที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมาย และมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของ ผู้เรียนในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่กำหนด

การศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

การศึกษาตลอดชีวิต (Life Long Education) หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการ ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

มาตรฐานการศึกษา (Educational Standard) หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุก แห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การ ตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษา (School Curriculum) หมายถึง แผนหรือแนวทางในการ จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ซึ่งจัดทำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลในระดับ สถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ และส่งเสริม ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน และสังคมอย่างมีความสุข

ภาคีเครือข่าย (Net Work Party) หมายถึง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่นรวมทั้งสถานศึกษาอื่นที่มิได้สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีส่วนร่วม หรือมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desired Characteristics) หมายถึง คุณภาพของผู้เรียน ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่สถานศึกษากำหนดขึ้นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน การเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆ โดยอาจพิจารณาจากสภาพปัญหาของชุมชน สังคม และ การเปลี่ยนแปลง

สาระการเรียนรู้ (Contents) หมายถึง องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ และ คุณลักษณะสำคัญรวมไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนต้องรู้และปฏิบัติได้

หน่วยกิต (Credit) หมายถึง ค่าน้ำหนักที่กำหนดให้ในการเรียนแต่ละรายวิชา โดยคิดจากระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุมาตรฐานหรือจุดประสงค์ที่ตั้ง ไว้สำหรับรายวิชานั้น โดยใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) หมายถึง แผนหรือแนวทางการจัดการเรียนการ สอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยการเรียนรู้ เมื่อดำเนินการเรียนการสอนครบทุกแผนของ แต่ละหน่วยการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาคุณภาพบรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดเป็น เป้าหมายของแต่ละหน่วยการเรียนรู้

วิธีการเรียนรู้ (Learning Styles) หมายถึง รูปแบบหรือวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการ แสวงหาความรู้ สร้างความเข้าใจหรือมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อสิ่งต่าง ๆ ใน สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ของการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนอาจใช้วิธีการแตกต่างกัน ไปเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัด ภูมิหลังด้านสังคม วัฒนธรรม หรือพัฒนาการของแต่ละบุคคล

สื่อการเรียนรู้ (Learning Materials) หมายถึง สื่อที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ สนใจ มีความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้และช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี สื่อธรรมชาติ การเลือกสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนควรคำนึงถึงความน่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เป็นสื่อที่เข้าใจง่าย กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ และที่สำคัญ คือ สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการเรียน วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล

ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) หมายถึง เครื่องมือที่มนุษย์ต้องใช้ในการ ดำรงชีวิต ต้องมีการคิด การตัดสินใจ การเลือกแก้ปัญหา เป็นการคิดหาคำตอบ และ ปฏิบัติอย่างดีที่สุดสำหรับตนเอง และใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์ได้ปรับตนเองให้ทันกับความ เปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้านั้น ๆ

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – directed Learning) หมายถึง การเรียนรู้ด้วยความ ตั้งใจของผู้เรียน ซึ่งมีความปรารถนาจะรู้ในเรื่องนั้น ผู้เรียนจึงคิดหาวิธีการเรียนด้วย วิธีการต่าง ๆ หลังจากนั้นจะมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองจะเป็นรูปแบบการ เรียนรู้ที่ทวีความสำคัญในโลกยุคโลกาภิวัตน์ บุคคลซึ่งสามารถปรับตนเองให้ตามทัน ความก้าวหน้าของโลก โดยใช้สื่ออุปกรณ์ยุคใหม่จะทำให้เป็นคนที่มีคุณค่า และประสบ ความสำเร็จได้อย่างดี

คิดเป็น (Khit -pen) หมายถึง กระบวนการที่คนเรานำมาใช้ในการตัดสินใจ โดย ต้องแสวงหาข้อมูลของตนเอง ข้อมูลของสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคม และข้อมูล ทางหลักวิชาการแล้วนำมาวิเคราะห์หาทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสม มีความพอดี ระหว่างตนเองและสังคม
หรือ เป็นการแสดงศักยภาพของมนุษย์ ในการชี้นำชะตาชีวิตของตัวเองโดยการ พยายามปรับตัวเอง และสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนกัน ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่ง ประกอบด้วยการพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และ ข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ การมีความสุข

การวิจัยอย่างง่าย (Baby Research) หมายถึง การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมี ระบบ เชื่อถือได้ สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามปกติของครู และเขียนรายงานสั้น ๆ มี ความสมบูรณ์ในตัวเอง
หรือ กระบวนการแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียน การสอนในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน โดยมี กระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง คือ มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข
หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม วางแผนการดำเนินงาน ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ สังเกต ผลที่เกิดขึ้น และสะท้อนผลหลังจากปฏิบัติตามแผน ถ้ายังไม่บรรลุเป้าหมายให้ ดำเนินการปรับปรุงแผนเสียใหม่ ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ปรับไว้ สังเกตและสะท้อนผล เป็นวงจรไปเรื่อย ๆ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการในการ สร้างและจัดหาความรู้ (Create & Acquisition) มีการจัดการและจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization & Storage) และการกระจายความรู้ (Knowledge Distribution) เพื่อการประยุกต์ความรู้เพื่อการใช้งาน (Knowledge Application) โดยเฉพาะเป็นการใช้ เพื่อการตัดสินใจหรือการแข่งขันกันในทางธุรกิจหรือเพื่อเป็นการ อนุรักษ์ให้เป็นสินทรัพย์ขององค์การต่อไป โดยอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น เครื่องมือในการจัดเก็บและแพร่กระจายความรู้

แหล่งการเรียนรู้ (Learning Resources) หมายถึง สถานที่ หรือแหล่งข้อมูลทั้งใน สถานศึกษาและนอกสถานศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษา แสวงหาประสบการณ์ ความรู้ เพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง

ค่านิยม (Value) หมายถึงสิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปรารถนาต้องการให้เป็น เป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนิน ชีวิต

เจตคติ (Attitude) หมายถึงสภาพความรู้สึกทางด้านจิตใจที่เกิดจากประสบการณ์ และการเรียนรู้ของบุคคลอันเป็นผลทำให้เกิด มีท่าทีหรือมีความคิดเห็น รู้สึกต่อสิ่งใดสิ่ง หนึ่งในลักษณะที่ชอบ หรือไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

ื้นฐานการงานอาชีพ (Basic Vocational Education) เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งให้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ได้แก่ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน การจัดการและแนวทางในการทำงาน ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ความจำเป็นในการมีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นพื้นฐานใน การประกอบอาชีพ

ทักษะชีวิต (Life Skills) หมายถึง คุณลักษณะหรือความสามารถเชิงสังคม จิตวิทยา (Psychosocial Competence) ที่เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อม สำหรับการปรับตัวในอนาคต สามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการฝึกและกระทำซ้ำ ๆ ให้เกิด ความคล่องแคล่ว เคยชิน จนเป็นลักษณะนิสัย ประกอบด้วยทักษะต่าง ๆ ดังนี้ คือ การ รู้จักตนเอง เข้าใจตนเองและเห็นคุณค่าของตนเอง การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิด สร้างสรรค์ การรู้จักคิด ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา การรู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลความรู้ การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมาย การวางแผนและดำเนินการตาม แผน ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคมและซาบซึ้งในสิ่งที่ดีงามรอบตัว

ทักษะการดำเนินชีวิต (Skill For Living) หมายถึง ทักษะภายนอกที่สามารถ มองเห็นได้ชัดเจนจากการกระทำ หรือจากการปฏิบัติ ซึ่งทักษะดังกล่าวนั้นเป็นทักษะที่ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะทำให้มีทักษะเหล่านั้น มีชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีพอยู่ใน สังคมได้ โดยมีโอกาสที่ดีกว่าผู้ไม่มีทักษะดังกล่าว

การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student – centered) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเปลี่ยนแปลง จากการเป็นผู้ชี้นำ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ลงมือปฏิบัติ และสร้างสรรค์ความรู้ โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความถนัด ความสนใจ และความแตกต่าง ระหว่างบุคคล

การวัดและประเมินผล (Assessment) เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่องรอย หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการ เรียนของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการ พัฒนา และเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สามารถจัดให้ มีขึ้นทั้งระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ

การเทียบโอน (Credit Transfer) หมายถึง การนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่ได้จากการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ หรือจากการประกอบอาชีพมาเทียบเป็นผลการเรียน ของหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ทั้งนี้การเทียบโอนสามารถทำได้ทั้งจากการศึกษารูปแบบ เดียวกัน หรือระหว่างการศึกษาต่างรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษา
เดียวกันหรือต่างสถานศึกษา รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน

การบริหารหลักสูตร (Curriculum Management) หมายถึง การนำหลักสูตรไปใช้ อย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การวางแผนทั่วไปการจัดทำแผนด้านวิชาการ การกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผน การนำ หลักสูตรไปใช้จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารหลักสูตร ด้วย

จิตสำนึก (Awareness) หมายถึง การรับรู้ การรู้ตัว รู้สึกตัว เป็นระดับที่รู้สึกตัวดี ในทางจิตวิทยา หมายถึง สภาวะที่ตื่นอยู่ รู้ได้ เข้าใจได้ สั่งการได้ เจตนาอันเป็นปัจจุบัน ในทางสังคม หมายถึง การรับรู้ในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อ สิ่งแวดล้อม เป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือศีลธรรม เช่น วันนี้มีการรณรงค์ ปลุกจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บ้านเมืองเรามีการโกงกินอย่างไร้จิตสำนึก

จิตสาธารณะ (Public Minded) หมายถึง บุคคลที่มีจิตสำนึกทางสังคม มีความ รับผิดชอบและเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นคนใจกว้างเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยการนำเนื้อหาที่เป็นหน่วย ย่อยหรือทักษะย่อยมาสัมพันธ์กันให้กลมกลืนเป็นองค์รวม มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ลักษณะสำคัญของการ
บูรณาการ
1.      การบูรณาการความรู้กับทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้
2.      การบูรณาการทักษะใหญ่กับทักษะย่อยเป็นกระบวนการเรียนรู้
3.      การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติในชีวิตจริงเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิต
4.      การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ

ภูมิปัญญา (Local Wisdom) หมายถึง ปรัชญาอันเป็นที่มาของความรู้ต่าง ๆ ด้วยเหตุ นี้จึงมักกล่าวด้วยว่า ภูมิปัญญาหมายถึงความรู้ต่าง ๆ ที่สืบทอด ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ ที่คนรุ่นต่อๆ มาจนถึงปัจจุบันได้อนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ รวมถึงสร้างสรรค์ ให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ในสังคมที่ผสมผสานกันระหว่างความรู้ที่มาจากที่อื่น ๆ ทั่วโลก
คำว่า ภูมิปัญญาไทย หมายถึง รากฐานปรัชญาชีวิตของคนไทย อันเป็นที่มา ของความรู้ความสามารถต่าง ๆ ที่แสดงออกในวิถีชีวิตของคนไทย ในจารีตประเพณี วัฒนธรรมความเป็นอยู่ อาหาร บ้านเรือน เสื้อผ้า ยารักษาโรค เครื่องมือในการทำมาหา กิน ศิลปะการแสดงเครื่องประดับตกแต่ง เป็นฐานความคิด ความฝัน ความใฝ่ฝัน และ ความเป็นคนไทย

คุณธรรม (Virtue) หมายถึง คุณงามความดีด้านกาย วาจา ใจ จึงจะทำให้ผู้ปฏิบัติ และสังคมเกิดความสงบสุข อันได้แก่ หลักธรรมในศาสนาต่าง ๆ
----------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น