แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2550 – 2554
จากการที่กลุ่มได้ศึกษาเรื่องแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 – 2554 กระทรวงศึกษาธิการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้าน ICT ไว้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
2. พันธกิจ
3. เป้าประสงค์
4. เป้าหมาย
5. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
6. ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ แผนงาน/กิจกรรม หน่วยงานเจ้าภาพหลัก แผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 – 2554
7. สรุปเกี่ยวกับบทบาทครูที่ต้องปฏิบิตตามยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ด้าน
วิสัยทัศน์
ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล
พันธกิจ
1. การใช้ ICT พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ การเรียนรู้
2. การใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
3. การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ
เป้าประสงค์
1. การเรียนรู้ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เป็นการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT - based Learning) ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ:
1.1 มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
หลากหลายและเพียงพอ ทั้งในลักษณะ e-Book, e-Library, Courseware, LMS และ e- Content Center และในลักษณะอื่น
1.2 มีโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ที่มีสมรรถนะสูง ทั่วถึง พอเพียงและ มีคุณภาพ
1.3 การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ทั้งในสถานศึกษาและในสังคมชุมชนเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ ICT เป็นฐาน
2. การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา เป็นการบริหารจัดการที่ใช้ ICT เป็นฐานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล:
2.1 มีโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน
2.2 หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนา จัดหา และใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) ระบบบริหาร (Back Office) อย่างครบวงจร
2.3 หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ใช้ระบบการให้บริการ (Front Office) ตามลักษณะงานของหน่วยงานและให้บริการผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์
3. ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ที่มีคุณภาพ เพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง
3.1 สถานศึกษา มีความพร้อมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT
3.2 ผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT มีคุณภาพ
3.3 บุคลากรด้าน ICT ได้รับการพัฒนาและมีทักษะตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
3.4 ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานและใช้ ICT ในการพัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
เป้าหมาย ภายในปี 2554
1. สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT- based Learning)
2. การจัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล
3. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80 ใช้ ICT เพื่อการบริหาร
4. มีหน่วยงานหรือองค์กรบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในทุกระดับ
5. ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา อย่างน้อยร้อยละ 80 มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานที่กำหนด
6. ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ อย่างน้อยร้อยละ 80 มีมาตรฐานสมรรถนะด้าน ICT ตามมาตรฐานหลักสูตรแต่ละระดับ และผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
7. ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเทคโนโลยีกับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่น คิดเป็นสัดส่วน 50 : 50
8. ประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกล ร้อยละ 90 ได้รับข่าวสาร ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากแหล่งความรู้ผ่านสื่อ ICT และร้อยละ 70 ของประชากรวัยแรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของตนเอง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ (e - Learning)
กลยุทธ์ที่ 1.1 สร้างความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาและการใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดย
1.1.1 กำหนดนโยบาย แนวทางและมาตรการในการส่งเสริมให้ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งบุคคลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมพัฒนาและผลิตสื่ออีเล็ก ทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐาน
1.1.2 ส่งเสริมให้ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนาและใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้ง e-Book, e-Library, Courseware, LMS รวมทั้งการจัดศูนย์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Content Center) และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วย ICT (e-Learning System) ในรูปแบบที่หลากหลาย
1.1.3 ส่งเสริมและร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศในการผลิต e - Contents เพื่อการจัดการเรียนรู้
1.1.4 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT Based Learning) รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนเห็นประโยชน์และอยากรู้อยากเรียน ICT
1.1.5 กำหนดและควบคุมมาตรฐานการใช้สื่อ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาแต่ละระดับ
กลยุทธ์ที่ 1.2 เร่งรัดการใช้โครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการและ
ความจำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดย
1.2.1 จัดหาและใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง Free T.V. และคลื่นความถี่โทรคมนาคมอื่น ที่เพียงพอ
1.2.2 จัดให้มีระบบคอมพิวเตอร์และชุดอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอน เพื่อจัด Virtual University , Virtual Classroom และ Virtual Laboratory ชุดอุปกรณ์เพื่อการจัด Distance Learning และการจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ
1.2.3 จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการพัฒนา Software และ ระบบ
e-Contents เพื่อการจัดการเรียนการสอน
1.2.4 พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ ICT เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความรู้ความสามารถด้าน ICT ตามมาตรฐานที่กำหนด
1.2.5 กำหนดมาตรฐานและจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานของแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
1.2.6 จัดเครือข่ายสถานศึกษาและความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการ
ให้บริการทางการศึกษา (e- Management)
กลยุทธ์ที่ 2.1 เร่งรัดการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อการบริหารจัดการและการ
ให้บริการทางการศึกษา (e – Management Infrastructure)
2.1.1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ 2.1.2 จัดหาระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการบริหารจัดการ จัด Network Directory ของหน่วยงาน จัดสรรและใช้เครือข่ายโทรคมนาคม และการสื่อสารเพื่อการบริหาร การให้บริการทางการศึกษา
2.1.3 จัดหาระบบซอฟต์แวร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ และสนับสนุนการพัฒนา
2.1.4 จัดให้มีและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรผู้ดูแลระบบ และนักพัฒนาระบบ ให้มีทักษะการใช้เครื่องมือ ICT เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เน้นการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ 2.2 มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารงานภาครัฐ (Back office) สู่การ
เป็นสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office)
2.2.1 พัฒนาและประสานการใช้ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนดทั้ง 10 ระบบงาน ประกอบด้วย ระบบแผนงาน/โครงการ ระบบงบประมาณการเงินบัญชี ระบบทรัพยากรมนุษย์ ระบบงานพัสดุ ระบบงานนิติการ ระบบงานประชาสัมพันธ์ ระบบงานวิเทศสัมพันธ์ ระบบงานสารบรรณ ระบบงานตรวจสอบภายใน ระบบงานผู้ตรวจราชการ
2.2.2 พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการทางการศึกษา (e-EMIS) ที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาคลังข้อมูลและห้องปฏิบัติการ เพื่อการบริหารจัดการระดับกระทรวง ส่วนราชการหลัก หน่วยงานทางการศึกษา
2.2.3 พัฒนาและนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการทางการศึกษา ในทุกระดับ
กลยุทธ์ที่ 2.3 ให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) โดย
2.3.1เร่งพัฒนาซอฟแวร์เพื่อการให้บริการ (Front Office) ตามภารกิจของหน่วยงานในทุกระดับ เช่น (Smart Card, e-Registration, e-Counseling, e-Testing, e-Loan ฯลฯ)
2.3.2พัฒนาและส่งเสริมการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการภาครัฐ(Front Office) เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาอย่างสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชน
2.3.3พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้บริการประชาชนตามภารกิจของสำนักงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e - Manpower)
กลยุทธ์ที่ 3.1 ผลิตและพัฒนาบุคลากร ICT ระดับมืออาชีพ (e - Professional ) โดย
3.1.1 เร่งผลิตบุคลากรด้าน ICT และยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้าน ICT (Quality Instruction & graduates)
3.1.2 จัดให้มีทุนเพื่อการศึกษาต่อและการพัฒนาทักษะด้าน ICT โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (ICT Scholarship & Partnership)
3.1.3 ส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มขีดความสามารถการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวกับการผลิตนวัตกรรมที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล (Specialist) ประสานความร่วมมือกับองค์กรและสถาบัน การศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ พร้อมทั้งประเมินและรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Universal licenses)
3.1.4 ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการและบุคลากรที่มีความชำนาญทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และระดับนานาชาติ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรทางด้าน ICT ร่วมกัน (External partnership/Exchange)
กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาสมรรถนะพื้นฐานทรัพยากรบุคคล เพื่อสังคม ICT และสังคมแห่ง การเรียนรู้ (e-Society & Learning Society) โดย
3.2.1 ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางสื่อ ICT ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการดำรงตนอยู่ในสังคม ICT
3.2.2 พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และการฝึกอบรมให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกระดับ และประชาชนอย่างทั่วถึง (Appropriate Curriculum)
3.2.3 บูรณาการหลักสูตรให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ
ตามความสามารถของผู้เรียน
ตามความสามารถของผู้เรียน
3.2.4 สนับสนุนให้มีคว า ม รว ม มือ ระ หว่า ง ภ าครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมแรงงาน การผลิตนวัตกรรม และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (Cooperation) ส่งเสริมการจัดศูนย์ ICT ในชุมชน (ICT Community center ) เพื่อ สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.2.5 เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการการเรียนรู้โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง
3.2.6 สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสามารถประยุกต์
ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน
กลยุทธ์ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ แผนงาน/กิจกรรม หน่วยงานเจ้าภาพหลัก
แผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2550 - 2554
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ (e - Learning)
เป้าประสงค์ : การเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT - based Learning) ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
เป้าหมายรวม : 1. สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับ จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน (ICT-based Learning) เป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายภายในเครือข่ายภายนอกที่มีความเร็วสูง ใช้โทรทัศน์การศึกษาและสื่อ ICT อื่น ๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด
2. จัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการ
( e- Management)
เป้าประสงค์ที่ การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา บริหารจัดการโดยใช้ ICT เป็นฐาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล:
เป้าหมายรวม 1. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80 ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการและการ
ให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
2. ประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกล ร้อยละ 90 ได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เพื่อการพัฒนา
คุณภาพชีวิตจากแหล่งความรู้ผ่านสื่อ ICT และร้อยละ 70 ของประชากรวัยแรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของตนเอง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e- Manpower)
เป้าประสงค์ที่ ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ที่มีคุณภาพ เพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง :
เป้าหมายรวม 3.1 ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา อย่างน้อยร้อยละ 80 มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานที่
กำหนด
3.2 ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ อย่างน้อยร้อยละ 80 มีมาตรฐานสมรรถนะด้าน ICT ตามมาตรฐาน
หลักสูตรแต่ละระดับ และผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ได้รับการรับรอง
มาตรฐานสากล
3.3 ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเทคโนโลยี กับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นคิดเป็น
สัดส่วน 50 : 50
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การสร้างโอกาสเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เป้าประสงค์ การเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยเป็นการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT – Based Learning) ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
เป้าหมายรวม
1.1. สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน (ICT-Based Learning) และเป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยใช้เครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกที่มีความเร็วสูง โทรทัศน์การศึกษาและสื่อ ICT อื่น ๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด
1.2. จัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการ
เป้าประสงค์ การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษาและ
สถานศึกษา บริหารจัดการโดยใช้ ICT เป็นฐาน เป็นไปยังมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล
เป้าหมาย 2.1. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80 ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
และให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
2.2. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80 ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
และการให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด แรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับ
การศึกษาของตนเอง
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ประเทศ และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย 3.1 ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 80 มีสมรรถนะทาง ICT ตาม
มาตรฐานที่กำหนด
3.2 ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับอย่างน้อยร้อยละ 80 มีมาตรฐานสมรรถนะทางด้าน ICT
ตามมาตรฐานหลักสูตรแต่ละระดับและผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
3.3 ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาวิทยาเทคโนโลยีกับผู้สำเร็จการศึกษา
สาขาอื่นคิดเป็นสัดส่วน 50 : 50
ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 e – Learning เป็นการส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนา ผลิตและใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วย ICT (e-Learning System) ในรูปแบบที่หลากหลาย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 e-Management สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาระบบด้าน ICT และเครือข่าย การใช้ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์และพัฒนาตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนด พัฒนาผู้ดูแลระบบให้มีทักษะการใช้เครื่องมือเป็นไปตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนดทั้ง 10 ระบบงาน ตลอดจนให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียนและประชาชนเพื่อได้รับข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาอย่างสะดวกรวดเร็วและเพื่มทางเลือกให้กับประชาชน และพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยภาครัฐและเอกชนในการให้บริการด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 3 e-Manpower ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ที่มีคุณภาพและเพียงพอ
ครูต้องผลิตสื่อโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนั่นหมายถึงว่าครูจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับซอฟแวร์ และอาจหมายถึงฮาร์ดแวร์ด้วยเพราะต้องทำงานคู่กัน ครูที่จบใหม่ ๆ อาจไม่มีปัญหามากเท่าไหร่ แต่เป็นห่วงครูที่มีอายุราชการมาก ๆ คงจะต้องปวดหัวหรือต้องหาตัวช่วย และต้องทำการอบรมศึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานศึกษาก็ต้องมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เพื่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ในฐานะที่เป็นครู ครูต้องเข้ารับการพัฒนา อบรม สัมมนาเพื่อประมวลความรู้ให้เพิ่มพูนละนำความรู้ที่ดีรับจากการอบรมนั้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพและส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถด้าน ICT ตามมาตรฐานของหลักสูตรเป็นคนดีมีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น