วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กลุ่ม 4การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร
                ภาระกิจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาใช้เพื่อการศึกษาซึ่งประโยชน์ที่ได้รับคือช่วยให้สะดวกต่อทำงาน หาข้อมูลสามารถนำมาใช้ทำงานให้สะดวกหรือง่ายขึ้นและลดความผิดพลาดสำหรับงานที่ซับซ้อนยุ่งยากได้จะยกตัวอย่างประโยชน์ICT  เช่น การเก็บข้อมูลโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้นการเก็บข้อมูลของครู อาจารย์ เช่น ระดับขั้น เงินเดือนและถ้ามีงบประมาณมากๆก็สามารถติดต่อข้อมูลทางเครือข่ายได้ทำให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างครู อาจารย์ และสามารถเก็บข้อมูลของนักเรียนได้อีกด้วยสำหรับข้อเสียคือการใช้ICTไม่ถูกทางมากกว่าไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู อาจารย์หรือผู้บริหารก็ตาม การปกปิดข้อมูล หรือปรับเปลี่ยนข้อมูลไม่ว่าจะในทางผลประโยชน์หรือในทางใดก็ตาม ก็เป็นผลเสียในการใช้ ICT ในการศึกษาทั้งสิ้นสำหรับนักเรียนถ้าใช้ไม่ถูกทางอาจเกิดผลเสียได้เช่นกันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษากลุ่มงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้ศึกษากรอบแนวทางในการพัฒนาโดยได้ค้นคว้าและศึกษาเอกสารเพื่อจะนำมาใช้ในการพัฒนางาน ดังนี้
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี
3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
4.  แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 –2549)
5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา
63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัยการจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา 
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 25452549) กับเทคโนโลยี
    ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 ด้านดังนี้
                1) การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี
                2) การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                3) การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                4) การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งประสิทธิผล
3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553ของประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ 5 ด้าน คือ  ด้านการบริหารงานของรัฐบาล (E-GOVERNMENT) ด้านการพานิชยกรรม (E-COMMERCE)ด้านการอุตาสาหกรรม (E-INDUSTRY) ด้านการศึกษา (E-EDUCATION) และด้านสังคม(E-SOCIETY)โดยได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-Education) ดังนี้เป้าหมาย  พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มี
                 ประสิทธิภาพ
2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content)ที่มีคุณภาพและมีความ
   เหมาะสม
5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(พ.ศ. 25472549)ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยี
สารสนเทศและ การสื่อสาร อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 25472549 ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
             1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ
             2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
             3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
             4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
             5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน           ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา 
          พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนา
บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT 
        ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย ส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา 
          จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน
               สาระสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีให้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไปในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ตอบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย  โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT Operrating Center) ทุกระดับ
ให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายในรวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (E-Government) และด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
( E- Education) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้    
1.มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดรับกับทุกระดับ
2. หน่วยงานทุกระดับมีคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อการตัดสินใจ
3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผ่านระบบเครือข่าย
4. มีศูนย์ปฏิบัติการด้านICTระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตฯ
5. มีระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) เพื่อใช้ในการบริหารงาน
6. หน่วยงานทุกระดับมี Software ที่ถูกกฎหมายสำหรับการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
7. มีโปรแกรมประยุคที่ใช้ในการบริหารงานด้านบุคลากร ด้านบริหารทั่วไปด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ ด้านติดตามประเมินผล ด้านบริหารกิจการนักเรียนในทุกระดับ
8. มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic  Information  System :GIS)
9. มีเวปไซท์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                การบริหาร หมายถึงการทำงานให้สำเร็จแต่จะมีกลวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้นั้น โดยยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง คือ หนึ่งใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น สองงานเท่าเดิม แต่ใช้คนน้อยลง และสามคุณภาพของงานต้องดีเท่าเดิม หรือดีกว่า 
กลยุทธ์เพื่อการบริหารงาน บริหารจัดการงาน การบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีแนวทางดังนี้
              1)  การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization)  เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น 
              2)  การบริหารทางไกล (High-Tech Administration) 
3)  การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) 
4)  การมองการณ์ไกล (Introspection)
5)   การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)
6)   การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)
7)   การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development
ระบบสารสนเทศทางการศึกษา
    ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ
1.       ข้อมูลนำเข้า  (Input)
2.       กระบวนการประมวลผล (Process)
3.       ผลลัพธ์ (Input)
4.       การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback  Control)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
1.       ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
2.       ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3.       ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
4.       ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา
5.       ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
6.       ช่วยลดค่าใช้จ่าย    
  สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร
 เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ครบวงจรการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานด้านวิชาการ  ด้านการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน  ด้านการบริหารงานธุรการ  และด้านการบริหารงานบริการ  เพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการบริการแก่สมาชิกในองค์กร และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ สถานการณ์หรือ เหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น