แผนแม่บท ICT แห่งชาติฉบับที่ 2
สรุปผลการวิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT ของประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานภาพทางด้าน ICT ของประเทศไทย ซึ่งได้จากการวัดจากดัชนีมาตรฐานต่าง ๆ และการทำ SWOT เป็นต้น ซึ่งสรุปออกมาได้ 5 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. สถานภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน - ผลการวิเคราะห์พบว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาด้านการพัฒนาโครงข่ายหลัก (Backbone Network) แต่ปัญหาอยู่ที่โครงข่ายระดับปลายทาง (Last Mile Access) ที่ไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุม และด้อยคุณภาพ
2. สถานภาพของประชาชนทั่วไป - ผลการวิเคราะห์พบว่า คนไทยมีการใช้ ICT ในระดับต่ำ ส่วนผู้ที่เข้าถึง ICT แล้วนั้นก็ยังไม่ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์อย่าง สถานภาพด้านบุคลากรทาง ICT - ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT อีกมาก ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
3. สถานภาพด้านบุคลากรในภาครัฐ - ก็ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT ทั้งคุณภาพและปริมาณเช่นกัน โดยเน้นด้วยว่าเกิดจากผลตอบแทนต่ำและขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
4. สถานภาพด้านการบริการจัดการ - ประเทศไทยมีหน่วยงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมากพอสมควร แต่มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นเอกภาพ
วิสัยทัศน์
ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) ด้วย ICT
วิสัยทัศน์ คือ จินตนาการของสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราทำตามแผนแม่บทนี้ คำสำคัญอยู่ที่วลีที่ว่า ด้วย ICT วลีนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะให้ ICT เข้าไปแทรกอยู่ในทุกภาคส่วนของสังคมทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ดังนั้นสิ่งที่แผนนี้อยากให้เกิดขึ้นคือ สังคมของเราจะเป็นสังคมที่แข็งแกร่ง อุดมปัญญาและอุดมไปด้วยการใช้งาน ICT อย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน ชาญฉลาด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พันธกิจ
- พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Professionals) และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่น ๆ ทุกระดับ
- พัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงที่มีการกระจายอย่างทั่วถึง มีบริการที่มีคุณภาพ และราคาเป็นธรรม
- พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทีมมีธรรมาภิบาล โดยมีกลไก กฎระเบียบ โครงสร้างการบริหารและกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างบูรณาการ
พันธกิจคือภารกิจหลักที่ต้องทำ เป็นหัวข้อกว้าง ๆ เพื่อกำหนดกรอบเป็นหลักในการพัฒนา โดยสรุปแล้วแผนแม่บทฉบับนี้ก็จะมุ่งเน้นการพัฒนาสามด้านหลักได้แก่ คน โครงข่าย และการจัดการ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Professional) ให้มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และบุคลากรในสาขาอาชีพต่าง ๆ ทุกระดับ
- เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นความมีเอกภาพ การบูรณา
- เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล โดยการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ในกิจการของครัวเรือนและชุมชน
- เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value-Added) ในประเทศ
โดยสรุปก็คือเน้นไปที่การพัฒนาความเข็งแกร่งทางด้าน ICT ให้กับ คน สังคม และธุรกิจ
เป้าหมาย
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์ และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรม (Information Literacy) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน
- ยกระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด 25% (Top Quartile) ของประเทศที่มีการจัดลำดับทั้งหมดใน Networked Readiness Index
- เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
เป้าหมายก็คือ สิ่งที่เป็นตัววัดว่าต้องทำเท่าใดจึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ สรุปจากดัชนีทั้งสามก็คือ จำนวนผู้ใช้งานที่มีคุณภาพ อันดับในดัชนีชี้วัด และสัดส่วนในอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ของประเทศ
สรุปแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้าน
จากผลการวิเคราะห์สถานภาพของ ICT ในส่วนแรก และนำมาสู่การตั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบกว้าง ๆ ของแนวทางที่จะทำ ซึ่งต้องนำมาแตกออกเป็นยุทธศาสตร์ย่อยอีกเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ แผนแม่บทฉบับนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
2. การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ
5. ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
6. การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
ยุทธศาสตร์แรกเป็นเรื่องของการพัฒนาคน โดยแบ่งเป็นสองส่วนหลักได้แก่
1. การพัฒนาบุคลากรทางด้าน ICT อันได้แก่ การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ที่อยู่ในภาคการศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยเน้นไปที่การพัฒนาอาจารย์ การปรับปรุงการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ทำงานใกล้ชิดกับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้นำโอเพ่นซอร์สมาใช้ในการเรียนการสอนให้มากขึ้นด้วย นอกจากจะพัฒนาบุคลากรในภาคการศึกษาแล้ว ยังต้องพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้วย โดยเน้นพัฒนาให้ได้คุณภาพมาตรฐานในระดับสากล
2. การพัฒนาประชาชนทั่วไป ในส่วนนี้ได้แบ่งมาตรการเป็น 5 ข้อย่อย อันได้แก่
- การนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และการสร้างสังคมเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียน
- สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ทาง ICT ในชุมชนทั้วไป เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมทักษะทาง ICT ให้แก่แรงงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ให้สามารถใช้ ICT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ทาง ICT แก่สังคมผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ
- ผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้าน ICT แก่บุคลากรภาครัฐ
สถานศึกษาควรให้ความสำคัญและส่งเสริม สนับสนุน ด้าน ICT ให้กับบุคลากรในโรงเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเรียนการสอน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 นี้เน้นที่กลไกการบริหารจัดการ ICT ของรัฐ อันได้แก่
1. การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ICT ให้มีความเป็นเอกภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ปรับปรุงกลไกการจัดการงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับ ICT ให้คุ้มค่าและลดความซ้ำซ้อน
3. พัฒนากฎระเบียบและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ICT โดยเน้นที่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรับปรุงจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับ ICT ให้เน้นที่ความคุ้มค่าของงานมากกว่าราคาเพียงอย่างเดียว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทาง ICT ของประเทศในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
1. การประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐในเรื่อง ICT
2. การขยายโครงข่ายโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้น
3. สนับสนุนการเข้าถึง ICT เพื่อการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ห้องสมุด และชุมชน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. สนับสนุนการใช้งาน ICT ทีเกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน เช่น การสาธารณสุขพื้นฐาน และการเตือนภัย เป็นต้น
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่าย อันได้แก่ การจัดสรรคลื่นความถี่ การจัดทำฐานข้อมูลของโครงข่ายในประเทศ และมีนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้มาตรฐานสากล
6. เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของโครงข่าย ICT พื้นฐานและของหน่วยงานของรัฐ
ยุทธศาสตร์นี้ระบุทิศทางให้สถานศึกษาพัฒนาโครงข่าย เน้นไปที่การศึกษา ในการสร้างหรือขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ
1. เพิ่มศักยภาพของหน่วยงานกลางที่ดูแล ICT ของภาครัฐทุกหน่วยงาน
2. ให้ทุกกระทรวงพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองแบบบูรณาการ นั่นคือต้องสามารถทำงานเข้ากับระบบบริการของกระทรวงอื่นอย่างเป็นเอกภาพด้วย
3. เพิ่มศักยภาพการดำเนินงานด้าน ICT ของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดและการปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐบาลมีการสร้างเครือข่ายถึง สพฐ สพท และโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเก็บข้อมูล เพิ่มศักยภาพในการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
ยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถและความแข้มแข็งของอุตสาหกรรม ICT ของประเทศ โดยมีมาตรการที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ ICT รายใหม่
2. ยกระดับมาตรฐานและบริการ ICT ให้เทียบเท่าระดับสากล ต่อยอดการพัฒนาเดิม และส่งเสริมการผลิตเทคโนโลยีต้นน้ำ
3. ส่งเสริมการรวมตัวและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ ICT
4. ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ
5. ส่งเสริมการผลิตและบริการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์นี้ส่งเสริมภาคการผลิตต่าง ๆ ให้สามารถนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มาตรการต่าง ๆ ของยุทธศาสตร์นี้ได้แก่
1. สร้างความตระหนักและเพิ่มขีดความสามารถด้าน ICT ให้กับผู้ประกอบการ
2. เสริมสร้างกลไกและความเชื่อมันในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ เช่น การเกษตร การสาธารณสุข และการท่องเที่ยว เป็นต้น
4. ส่งเสริมให้ SME เข้าถึงและนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และหาช่องทางทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสินค้าชุมชน (OTOP)
5. ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายขององค์กรต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น