วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปความรู้เกี่ยวกับ Moodle

Moodle
       เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้สำหรับทำคอร์สหรือบทเรียนออนไลน์ที่เราเรียกกันติดปากว่าระบบ LMS หรือLearning Management System โดยที่Moodle นับเป็นทูลตัวหนึ่งที่มีความสามารถสูง ตามมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆเลือกใช้ตัว Moodle เองมีระบบ Backend
(ระบบจัดการคอร์สที่ดีตัวหนึ่ง) ผู้ควบคุมสามารถแบ่งแยกระหว่างอาจารย์ผู้เรียนได้อย่างง่าย และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) หรือลิขสิทธิ์แบบฟรีนั่นเอง ผู้นำไปใช้สามารถพัฒนาต่อยอดได้ ดังนั้นในบทความชุดนี้จึงขอแนะนำระบบ Moodle ตั้งแต่การติดตั้งจนถึงการใช้งานในภาพรวมทั้งหมดถ้าจะให้พูดถึงระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่นิยมในปัจจุบันไม่ว่าจะที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศคงหลีกไม่พ้นคำว่าe-Learning ซึ่งเป็นระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกก็สามารถที่จะเรียนได้ แค่ขอให้มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าถึงแต่ใช่ว่าจะต้องมีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ถึงจะเรียนได้แม้จะไม่มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ก็สามารถที่จะเรียนได้เพียงดาวน์โหลดเนื้อหาที่ท่านต้องการเรียนไปเก็บไว้ในเครื่องก่อน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถเรียนได้ โดยเปิดเนื้อหาที่ดาวน์โหลดมา เมื่อเรียนเสร็จท่านก็มาต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อเรียนต่อหรือบางระบบสามารถที่จะติดตามการเรียนของท่านที่ออฟไลน์ไปก็สามารถทำได้เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบ จะไปดึงข้อมูลในเนื้อหาที่ได้เรียนไป เมื่อไม่มีการเชื่อมต่อ
1. มูเดิ้ล คืออะไร (What is Moodle?)
มูเดิ้ล (Moodle = Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) คือ โปรแกรมที่ประมวลผลในเครื่องบริการ (Server-Side Script) ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่ครู และนักเรียน ผ่านบริการ 2 ระบบ คือ 1)ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหา (CMS = Course Management System) บริการให้ครูสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ 2)ระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ (LMS = Learning Management System) บริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ครูได้จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัติ
ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเพียงระบบซีเอ็มเอส(ไม่มีระบบแอลเอ็มเอสในตัว) สามารถสร้างวัตถุเรียนรู้จากนอกมูเดิ้ล แล้วนำเข้าไปใช้งานในมูเดิ้ล เช่น สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model) ที่สามารถนำไปติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งในมูเดิ้ล หรือโปรแกรมเลินสแควร์ (Learnsquare) ได้


            ผู้พัฒนามูเดิ้ล คือ Martin Dougiamas โปรแกรมมีลักษณะเป็นโอเพนท์ซอร์ท (Open Source) ภายใต้ข้อตกลงของจีพีแอล (General Public License) สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีจาก moodle.org โดยผู้ดูแลระบบ (Admin) นำไปติดตั้งในเครื่องบริการ (Server) ที่บริการเว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) รองรับภาษาพีเอชพี (PHP Language) และมายเอสคิวแอล(MySQL)
            ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
            1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
            2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
เลิร์นนิ่งออฟเจ็ค (Learning Object) คือ แฟ้มดิจิทอลเพื่อใช้นำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของสื่อ มักอยู่ในรูปของสื่อผสมที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ # # #
ความสามารถของมูเดิ้ล เป็น Open Source ที่ได้รับการยอมรับ (13,544 sites from 158 countries 2549-07-19) ตัวนี้ฟรี : ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทย ยังไม่มีข้อตกลงเป็นเอกฉันท์ว่าจะใช้อีเลินนิ่งตัวใด แต่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้มูเดิ้ลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
รองรับทั้ง ซีเอ็มเอส(CMS = Course Management System) และ แอลเอ็มเอส(LMS = Learning Management System)
ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหาของครู พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา บันทึกกิจกรรมของนักเรียน และตัดเกรด
เป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารออนไลน์ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น
ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
มี ระบบติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และครู เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งการบ้านไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้ มี ระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel ได้ สำรองข้อมูลเป็น .zip แฟ้มเดียวได้ ทำให้ครูหรือนักเรียนนำไปกู้คืนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ อย่างของผมทำวิชาระบบปฏิบัติการ แล้วเก็บเป็น .zip เปิดให้ Download ใครจะนำไปทดสอบกู้คืนในเครื่องตนเองก็ได้
ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และใจกว้าง ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ ครูได้ทำหน้าที่ นักเรียนได้เรียนรู้ และสถาบันยกระดับการให้บริการ
ครูเตรียมสอนเพียงครั้งเดียว แต่นักเรียนเข้ามาเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้าแล้วกลับมาทบทวนก็ได้
2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับมูเดิ้ล
สิ่งที่ควรมี ก่อนใช้มูเดิ้ล (Requirement)
1. มี เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เพื่อติดต่อกับโปรแกรมมูเดิ้ล จำเป็นทั้งต่อครู และนักเรียน
2. มี เว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) เพื่อบริการรับการเชื่อมต่อเข้าไป โดยรองรับภาษาพีเอชพี (php) และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (mysql)
3. มี ผู้ติดตั้ง (Installer) และ ผู้ดูแลระบบ (Admin) เพื่อทำให้ระบบเกิดขึ้น และให้บริการแก่ผู้ใช้
4. มี ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ยอมรับเทคโนโลยี ดังนั้นมูเดิ้ลเหมาะสำหรับนักเรียนที่รับผิดชอบ ครูที่มุ่งมั่น และผู้บริหารที่ให้งบประมาณ
5. มี การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย (Network) เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) จำนวนเว็บไซต์ที่ใช้มูเดิ้ล (ข้อมูลจาก http://moodle.org/sites/ )
+ 2552-09-30 : 39,180 + 6,347 sites (Thailand 659 sites + private 637 sites)
+ 2549-07-19 : 13,544 sites (Thailand 462 sites)
+ 2547-03-18 : 1,216 sites (Thailand 34 sites)
บทบาทของผู้เข้าใช้มูเดิ้ล (Who are them?)
1. ผู้ดูแล (Admin) มีหน้าที่ ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น กำหนดสิทธ์การเป็นครู แก้ไขปัญหาให้แก่ครู และนักเรียน
2. ครู (Teacher) มีหน้าที่ เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรม ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสารกับนักเรียน
3. นักเรียน (Student) มีหน้าที่ เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
4. ผู้เยี่ยมชม (Guest) สามารถเข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และถูกจำกัดสิทธ์ในการทำกิจกรรม
แหล่งข้อมูล หรือกิจกรรม (Resource and Activities)
1. ป้ายประกาศ (Label) คือ ระบบแสดงข้อความ เพื่อประกาศให้นักเรียนทราบข่าวสาร
2. กระดานเสวนา (Forum) คือ กระดานที่ครู และนักเรียนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การบ้าน (Assignment) คือ ระบบที่ครูกำหนดโจทย์ให้นักเรียนไปค้นคว้า แล้วนำแฟ้มงานมาอัพโหลด (upload) ส่งครู
4. ห้องสนทนา (Chat) คือ ระบบที่สามารถนัดเวลาสนทนาระหว่างครู และนักเรียน แบบออนไลน์
5. แบบทดสอบ (Quiz) คือ ระบบวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยข้อสอบแบบปรนัย หรืออัตนัย
6. แหล่งข้อมูล (Resources) คือ แหล่งข้อมูลอื่น เช่น text, html, upload, weblink, webpage, program
7. โพลล์ (Poll) คือ ระบบที่เปิดให้สามารถถามความคิดเห็นจากนักเรียน
8. สารานุกรม (Wiki) คือ ระบบสร้างแหล่งอ้างอิงเชิงบูรณาการระหว่างครู และนักเรียน
9. อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ รวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่ สามารถสืบค้นได้
10. ห้องปฏิบัติการ (Workshop) คือ ระบบที่ให้นักเรียนทำงาน แล้วส่งงาน ซึ่งประเมินผลได้หลายแบบ
11. สกอร์ม (SCORM) คือ แหล่งข้อมูลที่รวมเนื้อหา หรือแฟ้มข้อมูลจากภายนอก ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานหนึ่งของ Learning Object
กิจกรรมของครู (Teacher Activities)
1. สมัครสมาชิกด้วยตนเอง และรอผู้ดูแล อนุมัติ ให้เป็นครู หรือผู้สร้างคอร์ส
2. ครูสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
3. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
4. ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
5. สามารถสำรองข้อมูลในวิชา เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
6. สามารถกู้คืนข้อมูลที่เคยสำรองไว้ หรือนำไปใช้ในเครื่องอื่น
7. สามารถดาวน์โหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทำกิจกรรม ไปประมวลผลใน Excel
8. กำหนดกลุ่มนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจำนวนมาก
9. ยกเลิกนักเรียนในรายวิชา ถ้าพบว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเข้าเรียนผิดรายวิชา
10. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถี่ในการอ่านบทเรียน หรือคะแนนในการสอบ
11. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงด้วยปฏิทิน
12. สร้างเนื้อหาใน SCORM หรือสร้างข้อสอบแบบ GIFT แล้วนำเข้าได้สู่ระบบ
กิจกรรมของนักเรียน (Student Activities)
1. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเองได้
2. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
3. เรียนรู้จากเอกสาร หรือบทเรียน ที่ครูกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
4. ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือสนทนาระหว่างครูและนักเรียน
5. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน
6. แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้
7. เรียนรู้ข้อมูลของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม เพื่อสร้างความคุ้นเคยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น